วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

๒.๕ ลักษณะเฉพาะของการแสดงรำโทนบ้านแหลงฟ้าผ่า

ผู้รำโทนบ้านแหลมฟ้าผ่า ตำบลบางพึ่ง การใช้ท่ารำ เป็นการรำใช้บท ท่ารำเป็นแบบฉบับของผู้รำในท้องถิ่นเองโดยผู้รำในท้องถิ่นเป็นผู้คิดท่ารำ และเลือกใช้ท่ารำให้เหมาะสมกับเพลง ท่ารำจะมีรูปแบบเป็นธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ หมายถึง การใช้ท่าทางแสดงสื่อความหมาย ประกอบกิริยาในการพูดคุย หรือการเคลื่อนไหวทั่ว ๆ ไป เช่น
๑) ท่าไหว้ เมื่อกล่าวถึงพระพุทธศาสนา หรือผู้มีพระคุณ ทำท่าพนมมือไว้ข้างศรีษะข้างใดข้างหนึ่ง
๒) ท่าเคารพธงชาติ เมื่อกล่าวถึงการทำความเคารพธงชาติ ชายทำท่าคำนับ หญิงทำท่าถอนสายบัว
๓) ท่าไว้มือ เมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ หรือผู้สูงศักดิ์ ทำท่าไว้มือคือยกมือข้างใดข้างหนึ่ง ขึ้นเหนือศีรษะ ตะแคงมือ ปลายนิ้ชี้ไปข้างหน้า
๔) ท่าปฏิเสธ เมื่อกล่าวว่า “ไม่เคย ไม่รำ ไม่เห็น หรือไม่เสียดาย” ทำท่าตั้งมือทั้งสองข้างขึ้นข้างลำตัวข้างใดข้างหนึ่งระดับอก หันหน้าไปคนละทางกับมือที่ตั้งขึ้น แล้วส่วนหน้าเล็กน้อย
๕) ท่ารัก เมื่อกล่าวถึงความรัก ทำท่าประสานมือไว้ระดับอก หรือประสานมือแตะที่แขนจะทำท่าเท้าสะเอว
โดยใช้นิ้วชี้แตะที่สะโพก ส่วนชายทำท่าเท้าสะเอวตามปกติ



ท่ารำ ความรัก


ท่ารำ ปฏิเสธ

ท่ารำ ศาสนา

ท่ารำ เครื่องบินกำลังบิน


ไม่มีความคิดเห็น: