วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

๑. ประวัติการก่อตั้งคณะ


การแสดงรำโทน เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวบ้าน บ้านแหลมฟ้าผ่า ตำบลบางพึ่ง อำเภอ-บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา ถึงแม้จะมีเล่นกันอยู่โดยทั่วไปในหลายอำเภอของจังหวัดลพบุรี แต่รูปแบบการเล่นอาจจะคล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันไปบ้าง ก็จะเป็นไปตามกลุ่มการสร้างสรรค์งานของแต่ละท้องถิ่น โดยเกิดขึ้นประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในสมัยนั้น ท่านได้ให้ลพบุรี มีการวางผังเมืองใหม่และตั้งหน่วยทหารขึ้นมาในเมืองลพบุรี ไม่ให้มีการแสดงลิเก และในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ (พ.ศ.๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ ) บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม ยามค่ำคืนจะมืดไปทุกหนทุกแห่ง เนื่องจากรัฐบาลห้ามกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ห้ามจุดไฟ ห้ามชุมนุม ประชาชนเกิดความเหงา และเครียด ชาวบ้านที่ย้ายมาจากที่อื่น และเคยร้องเพลงรำโทน นำเพลงเหล่านี้มาร้อง และฝึกร้องกันเพื่อความสนุกสนาน ต่อมา นางตะเคียน เทียนศรี (เป็นมารดาของ นางทิม สำริดเปี่ยม) ได้รวมกลุ่มญาติพี่น้อง และฝึกหัดรำโทน และตั้งเป็นคณะ " แม่ตะเคียน เทียนศรี " ตั้งแต่นั้นมา เพลงรำโทนที่นางทิม สำริดเปี่ยม (ป้าทับทิม) ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดา เริ่มหัดร้องครั้งแรกเมื่ออายุ ๑๓ ปี คือ เพลงนารีลอยหน้า


นางทิม สำริดเปี่ยม (ป้าทับทิม)

ไม่มีความคิดเห็น: