วิเคราะห์คุณค่าของผลงาน ลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์
รูปแบบของรำโทนพื้นบ้านของบ้านแหลมฟ้าผ่า ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ เป็นการรำที่มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า “ร้องรำใช้บท” เป็นการรำโทนในสมัยก่อนสงครามโลก และช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ ที่ยังคงรักษาภูมิปัญญาด้านการแสดง รูปแบบการรำ ที่เป็นลักษณะเฉพาะ โดยจะเริ่มด้วยบทไหว้ครูในลำดับแรก และตามด้วยบทเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ต่อด้วยเพลงเชิญชวน เพลงเกี้ยวพาราสี เพลงลาไปรบ เพลงที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในสงคราม จบช่วงนี้สมมุติว่าไปรบกกลับมาแล้วต่อด้วยเพลงชวนสาวไปเที่ยวเกี้ยวพาราสี สลับกับเพลงสนับสนุนรัฐบาลเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรม เมื่อจบการเล่น จะส่งด้วยเพลงลา ดนตรีประกอบด้วย รำมะนา(ใช้ถังน้ำมัน) ฉิ่ง กรับ การแต่งกาย แต่งแบบไทยพื้นบ้านทั้งชายและหญิง การแสดงรำโทนที่บ้านแหลมฟ้าผ่า มีส่วนคล้ายกับรำโทนจังหวัดอ่างทอง คือ เครื่องดนตรีที่ใช้เหมือนกัน คือ โทน หรือถึงน้ำมันรถจิ๊บ ฉิ่ง และกรับ แต่เนื้อเพลงแตกต่างกันบ้าง ซึ่งในจังหวัดลพบุรี มีการแสดงรำโทน มี ๒ แบบ คือ แบบเป็นการแสดงพื้นบ้านโดยชาวบ้าน และแบบสมัยใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดจากนางทิม สำริดเปี่ยม ซึ่งแสดงโดยนักเรียน นักศึกษา ท่ารำได้รับการประยุกต์ โดยวิทยาลัยนาฏศิลป-ลพบุรี และการรำโทนก็ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี
วิเคราะห์คุณค่าที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
รูปแบบของการรำโทนบ้านแหลมฟ้าผ่า ได้รับการสร้างสรรค์ แนวคิดโดยภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น ในการคิดสร้างสรรค์ มีการจัดระบบลำดับขั้นตอนในการแสดง รวมทั้งลีลาความสามารถเฉพาะตัว เป็นการแสดงที่ชาวบ้านรวมตัวกันแสดงเพื่อความสนุกสนาน เพื่อสร้างความสามัคคี และเนื้อเพลงที่ใช้ขับร้องได้บอกเล่าความเป็นมาในอดีต คติสอนใจ ความรักชาติ วัฒนธรรมการแต่งกายในสมัยก่อน เนื้อเพลงและท่วงทำนองมีความไพเราะ เรียบง่าย สร้างความภาคภูมิใจให้เยาวชนรุ่นหลังเมื่อได้ชมและรับฟังทำให้รำโทนบ้านแหลมฟ้าผ่า ได้รับการยอมรับเป็นศิลปะพื้นบ้านที่ควรยกย่อง สนับสนุน อนุรักษ์ เผยแพร่ ให้คงอยู่ต่อไป
ปัจจุบันรำโทนพื้นบ้านของบ้านแหลมฟ้าผ่า ยังเล่นในโอกาสงานเทศกาลประจำปีของท้องถิ่น และได้รับเกียรติให้ไปแสดงสาธิตในงานสำคัญ ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดในนามของ รำโทนพื้นบ้านจังหวัดลพบุรี
ข้อมูลจากรูปแบบของรำโทนพื้นบ้านของบ้านแหลมฟ้าผ่า ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ เป็นการรำที่มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า “ร้องรำใช้บท” เป็นการรำโทนในสมัยก่อนสงครามโลก และช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ ที่ยังคงรักษาภูมิปัญญาด้านการแสดง รูปแบบการรำ ที่เป็นลักษณะเฉพาะ โดยจะเริ่มด้วยบทไหว้ครูในลำดับแรก และตามด้วยบทเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ต่อด้วยเพลงเชิญชวน เพลงเกี้ยวพาราสี เพลงลาไปรบ เพลงที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในสงคราม จบช่วงนี้สมมุติว่าไปรบกกลับมาแล้วต่อด้วยเพลงชวนสาวไปเที่ยวเกี้ยวพาราสี สลับกับเพลงสนับสนุนรัฐบาลเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรม เมื่อจบการเล่น จะส่งด้วยเพลงลา ดนตรีประกอบด้วย รำมะนา(ใช้ถังน้ำมัน) ฉิ่ง กรับ การแต่งกาย แต่งแบบไทยพื้นบ้านทั้งชายและหญิง การแสดงรำโทนที่บ้านแหลมฟ้าผ่า มีส่วนคล้ายกับรำโทนจังหวัดอ่างทอง คือ เครื่องดนตรีที่ใช้เหมือนกัน คือ โทน หรือถึงน้ำมันรถจิ๊บ ฉิ่ง และกรับ แต่เนื้อเพลงแตกต่างกันบ้าง ซึ่งในจังหวัดลพบุรี มีการแสดงรำโทน มี ๒ แบบ คือ แบบเป็นการแสดงพื้นบ้านโดยชาวบ้าน และแบบสมัยใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดจากนางทิม สำริดเปี่ยม ซึ่งแสดงโดยนักเรียน นักศึกษา ท่ารำได้รับการประยุกต์ โดยวิทยาลัยนาฏศิลป-ลพบุรี และการรำโทนก็ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี
วิเคราะห์คุณค่าที่แสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
รูปแบบของการรำโทนบ้านแหลมฟ้าผ่า ได้รับการสร้างสรรค์ แนวคิดโดยภูมิปัญญาของคนท้องถิ่น ในการคิดสร้างสรรค์ มีการจัดระบบลำดับขั้นตอนในการแสดง รวมทั้งลีลาความสามารถเฉพาะตัว เป็นการแสดงที่ชาวบ้านรวมตัวกันแสดงเพื่อความสนุกสนาน เพื่อสร้างความสามัคคี และเนื้อเพลงที่ใช้ขับร้องได้บอกเล่าความเป็นมาในอดีต คติสอนใจ ความรักชาติ วัฒนธรรมการแต่งกายในสมัยก่อน เนื้อเพลงและท่วงทำนองมีความไพเราะ เรียบง่าย สร้างความภาคภูมิใจให้เยาวชนรุ่นหลังเมื่อได้ชมและรับฟังทำให้รำโทนบ้านแหลมฟ้าผ่า ได้รับการยอมรับเป็นศิลปะพื้นบ้านที่ควรยกย่อง สนับสนุน อนุรักษ์ เผยแพร่ ให้คงอยู่ต่อไป
ปัจจุบันรำโทนพื้นบ้านของบ้านแหลมฟ้าผ่า ยังเล่นในโอกาสงานเทศกาลประจำปีของท้องถิ่น และได้รับเกียรติให้ไปแสดงสาธิตในงานสำคัญ ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดในนามของ รำโทนพื้นบ้านจังหวัดลพบุรี
๑.สำนักงานวัฒธรรม จังหวัดลพบุรี
๒.อมรา กล้าเจริญ
๓.ป้าทับทิม สำริดเปี่ยม และคณะรำโทนพื้นบ้าน บ้านแหลมฟ้าผ่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น