บทนำ
“ชาวมอญ” เป็นชนเผ่ามองโกลอย์ (Mongoloid) ซึ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตะวันตกของประเทศจีน นักปราชญ์ทางภาษาศาสตร์ และทางมานุษยวิทยาได้จัดพวกมอญไว้ในภาษาตระกูลมอญ-เขมรหรือ บางทีก็เรียกว่า ตระกูลออสโตรเอเชียติค (Austro-Asiatic) หมายถึง ภาษาเอเชียตะวันออก พวกมอญเรียกตนเองว่า “รมัน” (Reman) แล้วเพี้ยนมาเป็น “มอญ” และเรียกชื่อประเทศของตนเองว่า “รามัญประเทศ” ส่วนพม่ามักเรียกมอญว่า “ตะเลง” หลังจากที่อพยพออกจากประเทศจีนลงมาทางใต้ได้มาตั้งอาณาจักรขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีในบริเวณพม่าตอนล่าง อาณาจักรมอญต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดระยะเวลากว่า ๗๐๐ ปี ที่ตั้งอยู่ในพม่าตอนล่างเพราะศึกภายในและภายนอกซึ่งมีพม่าเป็นศัตรูสำคัญ ในระหว่างนั้น ชาวมอญได้พากันอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศไทย และเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของประเทศไทยมาช้านาน เป็นที่น่าสังเกตว่า สาเหตุของการอพยพส่วนใหญ่เนื่องมาจากความบีบคั้นทางการเมืองและความเดือดร้อนจากการกดขี่ของพม่า มากกว่าจะเป็น
ปัญหาด้านความแร้นแค้นในการทำมาหากิน หรืออัตราการเพิ่มของประชากร จึงเกิดความเบื่อหน่าย
ปัญหาด้านความแร้นแค้นในการทำมาหากิน หรืออัตราการเพิ่มของประชากร จึงเกิดความเบื่อหน่าย
1 ความคิดเห็น:
เป็นการเขียนเล่าเรื่องแบบรวบรัด
ข้อมูลจึงไม่ชัดไม่แตกฉาน
ไม่ใช่ติแต่ขอร่วมพิจารณ์
เพื่อผู้อ่านได้อ้างอิงสิ่งที่ดี
แสดงความคิดเห็น